วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สรุปทฤษฎีการสร้างความรู้ (constructivism)

Constructivist theory
รากฐานทางจิตวิทยาของ constructivist คือ ทฤษฎีของ piaget โดยเค้ามีความคิดว่ามนุษย์เรียนรู้โดยกระบวนการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมซึ่งประกอบด้วยกลไกพื้นฐาน 2 อย่างคือ การดูดซึมเข้าสู่โครงสร้าง และการปรับโครงสร้าง ในกรณีที่ผู้เรียนประสบปัญหาที่ต้องแก้ การดูดซึมเข้าสู่โครงสร้างก็คือ ความสามารถในการตีความปัญหาหรือจัดปัญหาให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถแก้ได้ด้วยมโนทัศน์หรือวิธีการเดิมที่มีอยู่ ส่วนการปรับโครงสร้างก็คือความในการหาวิธีใหม่ หรือคำอธิบายใหม่มาแก้หรือตีความปัญหา เมื่อวิธีเดิมหรือมโนทัศน์เดิมที่มีอยู่ไม่สามารถแก้ปัญหาที่ประสบอยู่ได้
ผู้เรียนมีเอกลักษณ์เฉพาะบุคคล
นักเรียนแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความต้องการที่จะเรียนรู้ และประสบการณ์เดิม และโครงสร้างทางสังคม โดยใช้ข้อมูลที่ได้รับมาใหม่กับข้อมูลเก่าหรือความรู้ที่มีอยู่แล้วจากแหล่งต่างๆมาเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
ความสำคัญของภูมิหลังของผู้เรียน
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานและประสบการณ์เดิมของผู้เรียน เพราะความรู้พื้นฐานและประสบการณ์เดิมของผู้เรียนจะทำให้ความรู้ของผู้เรียนนั้นเป็นความจริงและเป็นรูปร่างจึงจะทำให้กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนนั้นประสบผลสำเร็จ
ความรับผิดชอบต่อการเรียน
ความรับผิดชอบในการเรียนรู้จะต้องขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียน ซึ่งเป็นความรับผิดชอบที่ผู้เรียนต้องมีต่อ อาจารย์ผู้สอนและสถานที่ผู้เรียนสามารถสร้างความเข้าใจของตนเองได้ซึ่งจะเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่ผู้เรียนได้Learners look for meaning and will try to find regularity and order in the events of the world even in the absence of full or complete inforเรียนรู้
แรงจูงใจในการเรียนรู้
แรงจูงใจในการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญและเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการเรียนมากขึ้นโดยแรงจูงใจนั้นจะช่วยให้ผู้เรียนมีศักยภาพในการแก้ปัญหาใหม่ได้ดีขึ้น ซึ่งจะสอดคล้องกับ zone of proximal development ของ Vygotsky
ครูผู้สอนเปรียบเสมือนผู้อำนวยความสะดวก
ในทฤษฎีคอนสตรัคติวิสนั้นตัวของครูผู้สอนต้องเปลี่ยนบทบาทของตนเองจากการเป็นผู้สอนให้มาเป็นผู้ที่คอยนำทางหรือชี้แนวทางหรือเป็นคนที่คอยเอื้ออำนวยความสะดวกกับผู้เรียนให้มีเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น เช่น ครูผู้สอนจะคอยบอกเนื้อหา แต่ผู้อำนวยความสะดวกนั้นจะคอยถามให้ผู้เรียนเข้าใจในเนื้อหา ครูผู้สอนจะบอกคำตอบจากเนื้อหาแต่ผู้อำนวยความสะดวกจะบอกแนวทางเพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึงคำตอบของเนื้อหาเอง เป็นต้น สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ควควรเป็นไปเพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดความท้าทายในความคิดของตนเอง The critical goal is to support the learner in becoming an effective thinker. โดยเป้าหมายสำคัญคือการสนับสนุนผู้เรียนในการเป็นนักคิด


ลักษณะของกระบวนการเรียนรู้
การเรียนรู้แบบร่วมมือ (collaborative elaboration) จะทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจได้ดีกว่าการเรียนรู้ด้วยตนเองเพียงคนเดียว โดยกระบวนการในการเรียนรู้นั้นมีสิ่งที่สำคัญคือการค้นหาความรู้ แนวคิด และข้อเท็จจริงด้วยตัวพวกเขาเอง การเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม กระบวนการเรียนรู้นี้ไม่เพียงแต่จะเกิดขึ้นในตัวของผู้เรียนแล้วยังช่วยพัฒนาความคิดรวบยอดของตนเองที่ได้มาจากการร่วมแบ่งปันแนวคิดที่หลากหลายกับผู้อื่น
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
ผู้สอนและผู้เรียนจะมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างเท่าเทียมกันเปรียบเสมือนเป็นเพื่อนกันและต่างฝ่ายต่างจะต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกันจนเกิดความเชื่อมั่น เห็นความสำคัญของกันและกัน
ความร่วมมือระหว่างผู้เรียน
ผู้เรียนแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันในเรื่องทักษะและภูมิหลัง ดังนี้ผู้เรียนจึงควรที่จะร่วมมือกันทำงานและแสดงความคิดเห็นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เข้าถึงความเข้าใจและความจริงของความรู้
การประเมิน
ในการประเมินถึงสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้มาว่าสามารถนำความรู้นั้นไปใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ควรจะต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้ทราบถึงการรับรู้การตอบสนอง และพัฒนาการของผู้เรียน
ขอบเขตการจัดการเรียนรู้
ควรจะเป็นการบูรณาการให้เข้ากับการเรียนไม่ควรเป็นกิจกรรมที่แยกออกจากบริบทการเรียนรู้หรือไม่ควรเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง โดยผู้เรียนนั้นควรที่จะได้รับการเรียนรู้แบบนี้อย่างสม่ำเสมอจะทำให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และมีความเชื่อมั่นในตนเอง
สรุป
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสเป็นทฤษฎีที่เน้นความสำคัญของตัวผู้เรียน ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ โดยจะอธบายถึงการเรียนรู้ว่าเป็นกระบวนการภายในตัวบุคคล ซึ่งพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับบทเรียนหรือประสบการณ์ที่ศึกษาขึ้นด้วยตัวเองมากกว่าที่จะรับความเข้าใจที่สำเร็จรูปจากการสอนหรือการถ่ายทอดจากผู้สอน และบุคคลจะเกิดความรู้ใหม่ๆได้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน และจะเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นถ้ามีบรรยากาศของการทำงานและปฏิสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างผู้เรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น