วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

The nature of science

The Scientific Worldview grades 6 through 8
- เมื่อมีการสืบสวนแล้วมีผลที่แตกต่างกัน สิ่งท้าทายทางวิทยาศาสตร์ คือ การตัดสินผลว่า ความแตกต่างมีความสำคัญหรือไม่สำคัญ และจะต้องมีการศึกษาก่อนตัดสินใจ
- เมื่อมีผลที่คล้ายคลึงกัน นักวิทยาศาสตร์จะรอจนกระทั่งมีการสืบสวนซ้ำหลายครั้งก่อนที่จะยอมรับผลว่าถูกต้อง
- ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คือ วิชาที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใหม่ของทฤษฎีของทฤษฎีที่มีความแพร่หลายกว่า และทฤษฎีใหม่จะนำไปสู่การสังเกตแบบเก่าในมุมมองใหม่
- ความรู้ทางวิทยาศาสตร์บางอย่างจะเก่ามาก ๆ และยังเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน
- เรื่องบางเรื่องยังไม่สามารถพิจารณาในทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งโดยทางธรรมชาติไม่สามารถทดสอบได้โดยการสังเกต
- บางครั้งวิทยาศาสตร์สามารถให้ข้อมูลในการตัดสินใจเกี่ยวกับจริยธรรม ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการกระทำมีความสำคัญ แต่วิทยาศาสตร์ไม่สามารถใช้ตัดสินการกระทำว่าถูกหรือผิดจริยธรรม

The Scientific Inquiry grades 6 through 8
- เมื่อมีการสืบสวนแล้วมีผลที่แตกต่างกัน สิ่งท้าทายทางวิทยาศาสตร์ คือ การตัดสินผลว่า ความแตกต่างมีความสำคัญหรือไม่สำคัญ และจะต้องมีการศึกษาก่อนตัดสินใจ
- เมื่อมีผลที่คล้ายคลึงกัน นักวิทยาศาสตร์จะรอจนกระทั่งมีการสืบสวนซ้ำหลายครั้งก่อนที่จะยอมรับผลว่าถูกต้อง
- ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คือ วิชาที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลใหม่ของทฤษฎีของทฤษฎีที่มีความแพร่หลายกว่า และทฤษฎีใหม่จะนำไปสู่การสังเกตแบบเก่าในมุมมองใหม่
- ความรู้ทางวิทยาศาสตร์บางอย่างจะเก่ามาก ๆ และยังเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน
- เรื่องบางเรื่องยังไม่สามารถพิจารณาในทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งโดยทางธรรมชาติไม่สามารถทดสอบได้โดยการสังเกต
- บางครั้งวิทยาศาสตร์สามารถให้ข้อมูลในการตัดสินใจเกี่ยวกับจริยธรรม ซึ่งชี้ให้เห็นว่าการกระทำมีความสำคัญ แต่วิทยาศาสตร์ไม่สามารถใช้ตัดสินการกระทำว่าถูกหรือผิดจริยธรรม

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์
ความรู้วิทยาศาสตร์และธรรมชาติของวิทยาศาสตร์
ความรู้วิทยาศาสตร์ เกิดจากความพยายามของมนุษย์ที่จะเชื่อมโยงโลกทางกายภาพ ชีวภาพ จิตวิทยาและสังคมเข้าไว้ด้วยกัน ความรู้วิทยาศาสตร์นี้จึงได้รับการพัฒนาภายใต้แนวคิดทางสังคม ปรัชญา และจิตวิทยาที่มนุษย์มีต่อการศึกษา การใช้และการอธิบายความรู้ที่ได้ค้นพบ การอธิบายถึงวิทยาศาสตร์ทั้งในด้านของความหมาย วิธีการได้มาซึ่งความรู้วิทยาศาสตร์ และการพัฒนาความรู้วิทยาศาสตร์ เช่น วิทยาศาสตร์คืออะไร วิทยาศาสตร์มีความเป็นมาอย่างไร และ นักวิทยาศาสตร์พัฒนาความรู้วิทยาศาสตร์ได้อย่างไรทั้งในฐานะที่เป็นนักวิทยาศาสตร์และในฐานะที่เป็นประชาชนคนหนึ่งในสังคม จึงเป็นการอธิบายถึงลักษณะพื้นฐานของความรู้วิทยาศาสตร์ หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เป็นการอธิบายถึงธรรมชาติของวิทยาศาสตร์นั่นเอง (McComas และคณะ, 1998) สมาคมครูวิทยาศาสตร์สหรัฐอเมริกา (AAAS, 1989) และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ประเทศไทย (IPST, 2003) ได้อธิบายถึง ความเข้าใจในธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ ซึ่งถือเป็นเป้าหมายสำคัญของวิทยาศาสตร์ศึกษาที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการรู้วิทยาศาสตร์ (Scientific literacy) ดังนี้
ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้วิทยาศาสตร์ (Scientific knowledge) เนื่องจากความรู้วิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากการสังเกตและประสบการณ์ที่ได้รับเกี่ยวกับปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ องค์ประกอบของความรู้วิทยาศาสตร์ คือ

1. ข้อเท็จจริง (Fact)
คือ การสังเกตปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือสิ่งใดๆ ที่เป็นอยู่จริงไม่เปลี่ยนแปลง และเป็นสิ่งที่ได้จากการสังเกตโดยตรง หรือโดยอ้อม (ข้อเท็จจริงในธรรมชาติย่อมถูกต้องเสมอ แต่การสังเกตข้อเท็จจริงอาจผิดพลาดได้) ความรู้ที่ได้นี้ เมื่อทดสอบในสถานการณ์หรือสภาวะเดียวกันจะได้ผลเหมือนเดิมทุกครั้งเช่น “น้ำไหลจากที่สูงสู่ที่ตำ" , "น้ำจะเดือดที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ณ บริเวณที่ระดับน้ำทะเล","เกลือมีรสเค็ม","สเปคตรัมของแสงอาทิตย์มี 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง" (ใช้อุปกรณ์ช่วย),"น้ำแข็งลอยน้ำได้"
2. ความคิดรวบยอดหรือ มโนมติ (Concept)
คือ ความคิดหลัก (Main idea) ของแต่ละบุคคลที่มีต่อเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์นั้นๆ มโนมติเกิดจากการนำข้อเท็จจริงมาศึกษาหรือเปรียบเทียบความแตกต่าง สรุปรวมลักษณะที่สำคัญ มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งนั้นๆ สร้างเป็นความคิดหลักในรูปที่แสดงถึงความคิด ความเข้าใจ ทำให้นำไปใช้ในการบรรยาย อธิบาย หรือพยากรณ์เหตุการณ์ วัตถุ และปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแต่ละคนอาจมีนโนมติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์ ความรู้เดิม วัยวุฒิ และ เหตุผลของบุคคลนั้นๆ

สรุป "มโนมติ คือ ความคิด ความเข้าใจที่สรุปเกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเรื่องใดเรื่องหนึ่งอันเกิดจากการสังเกต หรือการได้รับประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งนั้นหรือเรื่องนั้นหลายๆ แบบ แล้วใช้คุณลักษณะของสิ่งนั้นหรือเรื่องนั้นนำมาประมวลเข้าด้วยกันเป็นข้อสรุปของเรื่องนั้น

3. หลักการ (Principle)
เป็นความจริงที่ใช้เป็นหลักในการอ้างอิงได้ โดยนำกลุ่ม มโนมติที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ซึ่งได้รับการทดสอบว่าเป็นจริงแล้วว่าเป็นจริง แล้วนำไปใช้อ้างอิงและพยากรณ์เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องได้ (หลักการต้องเป็นความจริงที่สามารถทดสอบได้ และได้ผลเหมือนเดิม มีความเป็นปรนัย และเป็นที่เข้าใจตรงกัน)

4. สมมติฐาน (Hypothesis)
หมายถึง ข้อความที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นเพื่อคาดคะเนคำตอบของปัญหาล่วงหน้าก่อนที่จะดำเนินการทดลอง สมมติฐานใดจะเป็นที่ยอมรับหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลักฐาน เหตุผลที่จะสนับสนุนหรือคัดค้าน (ข้อความที่เป็นสมมติฐานต้องเป็นข้อความคาดคะเนคำตอบโดยที่บุคคลนั้นยังไม่เคยรู้หรือเรียนมาก่อน)

5. ทฤษฎี (Theory)
เป็นข้อความที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น เป็นคำอธิบายหรือความคิดที่ได้จากสมมติฐานที่ผ่านการตรวจสอบหลายๆ ครั้ง และใช้อ้างอิงได้ หรือ ทำนายปรากฏการณ์ที่ค่อนข้างกว้าง สามารถใช้อธิบายกฎ หลักการ และการคาดคะเนข้อเท็จจริงในเรื่องทำนองเดียวกันได้ (ทฤษฎี เป็นความคิดของนักวิทยาศาสตร์ อาจจะถูกหรือผิดก็ได้ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อได้รับข้อเท็จจริงเพิ่มขึ้นและน่าเชื่อถือมากขึ้น)
- เป็นข้อความซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในการอธิบายกฎ หลักการ หรือข้อเท็จจริง
- เป็นข้อความที่ใช้อธิบายหรือทำนายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น
- เป็นที่น่าเชื่อถือได้และสามารถอนุมานไปเป็นหลักการ กฎ บางอย่างได้

6. กฎ (Law)
เป็นหลักการอย่างหนึ่งซึ่งเป็นข้อความที่ระบุความสัมพันธ์กันระหว่าง เหตุกับผล และอาจเขียนในรูปสมการแทนได้ ผ่านการทดสอบจนเป็นที่น่าเชื่อถือได้มาแล้ว (กฎ มีความจริงในตัวของมันเอง ไม่มีข้อโต้แย้ง สมารถทดสอบได้เหมือนเดิมทุกประการ)
กฎอาจเกิดมาได้ 2 ทาง ด้วยกัน
- จากการอุปมานข้อเท็จจริง โดยการรวบรวมจากข้อเท็จจริงหลายๆ ข้อเท็จจริงมาสรุปเป็น มโนมติ หลักการ
- จากการอนุมานทฤษฎี โดยการดึงส่วนย่อยของทฤษฎีมาเป็นกฎ เช่น กฎสัดส่วนพหูคูณ แยกย่อยมาจากทฤษฎีอะตอม
คุณค่าของธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
Driver และคณะ (1996) อธิบายว่าคุณค่าและความจำเป็นของการมีความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ไว้ว่า ความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์จะช่วยให้นักเรียน
1. ทราบถึงขอบเขต ข้อจำกัด ของความรู้วิทยาศาสตร์ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน
2. สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางสังคม ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากวิทยาศาสตร์ได้
3. ชื่นชมวิทยาศาสตร์ในแง่ของการมีจริยธรรมและวัฒนธรรมของการเรียนรู้อย่างมีเหตุมีผล ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนอยู่ในสังคมได้อย่างรู้เท่าทัน
4. ตระหนักถึงคุณค่า และความจำเป็นของการศึกษาวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสามารถพัฒนาการเรียนรู้เนื้อหาวิทยาศาสตร์ของตนได้ดียิ่งขึ้น

วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สรุปพรบ.หมวด 4

หมวด ๔แนวการจัดการศึกษา
มาตรา ๒๒ การจัดการศึกษาต้องยืดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
มาตรา ๒๓ การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้
(๑) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม
(๒) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(๓) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
(๔) ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
(๕) ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
มาตรา ๒๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้
(๑) จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
(๒) ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
(๓) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
(๔) จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
(๕) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อ
การเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ
(๖) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดา มารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย
มาตรา ๒๕ รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ แหล่งข้อมูลและแหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ
มาตรา ๒๖ ให้สถานศึกษาจัดการประเมินผู้เรียนโดยพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความประพฤติ การสังเกตพฤติกรรมการเรียนการร่วมกิจกรรมและการทดสอบควบคู่ไปในกระบวนการเรียนการสอนตามความเหมาะสมของแต่ละระดับและรูปแบบการศึกษา ให้สถานศึกษาใช้วิธีการที่หลากหลายในการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อและให้นำผลการประเมินผู้เรียนตามวรรคหนึ่งมาใช้ประกอบการพิจารณาด้วย
มาตรา ๒๗ ให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อความเป็นไทย ความเป็นพลเมืองที่ดีของชาติ การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ ตลอดจนเพื่อการศึกษาต่อ
มาตรา ๒๘ หลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ รวมทั้งหลักสูตรการศึกษาสำหรับบุคคลตามมาตรา ๑๐ วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ ต้องมีลักษณะหลากหลาย ทั้งนี้ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับโดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ
มาตรา ๒๙ ให้สถานศึกษาร่วมกับบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนโดยจัดกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีการจัดการศึกษาอบรม มีการแสวงหาความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และรู้จักเลือกสรรภูมิปัญญาและวิทยาการต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ รวมทั้งหาวิธีการสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การพัฒนาระหว่างชุมชน
มาตรา ๓๐ ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา

สรุปทฤษฎีการสร้างความรู้ (constructivism)

Constructivist theory
รากฐานทางจิตวิทยาของ constructivist คือ ทฤษฎีของ piaget โดยเค้ามีความคิดว่ามนุษย์เรียนรู้โดยกระบวนการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมซึ่งประกอบด้วยกลไกพื้นฐาน 2 อย่างคือ การดูดซึมเข้าสู่โครงสร้าง และการปรับโครงสร้าง ในกรณีที่ผู้เรียนประสบปัญหาที่ต้องแก้ การดูดซึมเข้าสู่โครงสร้างก็คือ ความสามารถในการตีความปัญหาหรือจัดปัญหาให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถแก้ได้ด้วยมโนทัศน์หรือวิธีการเดิมที่มีอยู่ ส่วนการปรับโครงสร้างก็คือความในการหาวิธีใหม่ หรือคำอธิบายใหม่มาแก้หรือตีความปัญหา เมื่อวิธีเดิมหรือมโนทัศน์เดิมที่มีอยู่ไม่สามารถแก้ปัญหาที่ประสบอยู่ได้
ผู้เรียนมีเอกลักษณ์เฉพาะบุคคล
นักเรียนแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความต้องการที่จะเรียนรู้ และประสบการณ์เดิม และโครงสร้างทางสังคม โดยใช้ข้อมูลที่ได้รับมาใหม่กับข้อมูลเก่าหรือความรู้ที่มีอยู่แล้วจากแหล่งต่างๆมาเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
ความสำคัญของภูมิหลังของผู้เรียน
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสให้ความสำคัญเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานและประสบการณ์เดิมของผู้เรียน เพราะความรู้พื้นฐานและประสบการณ์เดิมของผู้เรียนจะทำให้ความรู้ของผู้เรียนนั้นเป็นความจริงและเป็นรูปร่างจึงจะทำให้กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนนั้นประสบผลสำเร็จ
ความรับผิดชอบต่อการเรียน
ความรับผิดชอบในการเรียนรู้จะต้องขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียน ซึ่งเป็นความรับผิดชอบที่ผู้เรียนต้องมีต่อ อาจารย์ผู้สอนและสถานที่ผู้เรียนสามารถสร้างความเข้าใจของตนเองได้ซึ่งจะเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่ผู้เรียนได้Learners look for meaning and will try to find regularity and order in the events of the world even in the absence of full or complete inforเรียนรู้
แรงจูงใจในการเรียนรู้
แรงจูงใจในการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญและเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้เรียนมีความมั่นใจในการเรียนมากขึ้นโดยแรงจูงใจนั้นจะช่วยให้ผู้เรียนมีศักยภาพในการแก้ปัญหาใหม่ได้ดีขึ้น ซึ่งจะสอดคล้องกับ zone of proximal development ของ Vygotsky
ครูผู้สอนเปรียบเสมือนผู้อำนวยความสะดวก
ในทฤษฎีคอนสตรัคติวิสนั้นตัวของครูผู้สอนต้องเปลี่ยนบทบาทของตนเองจากการเป็นผู้สอนให้มาเป็นผู้ที่คอยนำทางหรือชี้แนวทางหรือเป็นคนที่คอยเอื้ออำนวยความสะดวกกับผู้เรียนให้มีเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น เช่น ครูผู้สอนจะคอยบอกเนื้อหา แต่ผู้อำนวยความสะดวกนั้นจะคอยถามให้ผู้เรียนเข้าใจในเนื้อหา ครูผู้สอนจะบอกคำตอบจากเนื้อหาแต่ผู้อำนวยความสะดวกจะบอกแนวทางเพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึงคำตอบของเนื้อหาเอง เป็นต้น สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ควควรเป็นไปเพื่อสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดความท้าทายในความคิดของตนเอง The critical goal is to support the learner in becoming an effective thinker. โดยเป้าหมายสำคัญคือการสนับสนุนผู้เรียนในการเป็นนักคิด


ลักษณะของกระบวนการเรียนรู้
การเรียนรู้แบบร่วมมือ (collaborative elaboration) จะทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจได้ดีกว่าการเรียนรู้ด้วยตนเองเพียงคนเดียว โดยกระบวนการในการเรียนรู้นั้นมีสิ่งที่สำคัญคือการค้นหาความรู้ แนวคิด และข้อเท็จจริงด้วยตัวพวกเขาเอง การเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และสิ่งแวดล้อม กระบวนการเรียนรู้นี้ไม่เพียงแต่จะเกิดขึ้นในตัวของผู้เรียนแล้วยังช่วยพัฒนาความคิดรวบยอดของตนเองที่ได้มาจากการร่วมแบ่งปันแนวคิดที่หลากหลายกับผู้อื่น
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
ผู้สอนและผู้เรียนจะมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างเท่าเทียมกันเปรียบเสมือนเป็นเพื่อนกันและต่างฝ่ายต่างจะต้องเรียนรู้ซึ่งกันและกันจนเกิดความเชื่อมั่น เห็นความสำคัญของกันและกัน
ความร่วมมือระหว่างผู้เรียน
ผู้เรียนแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันในเรื่องทักษะและภูมิหลัง ดังนี้ผู้เรียนจึงควรที่จะร่วมมือกันทำงานและแสดงความคิดเห็นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เข้าถึงความเข้าใจและความจริงของความรู้
การประเมิน
ในการประเมินถึงสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนรู้มาว่าสามารถนำความรู้นั้นไปใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ควรจะต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะได้ทราบถึงการรับรู้การตอบสนอง และพัฒนาการของผู้เรียน
ขอบเขตการจัดการเรียนรู้
ควรจะเป็นการบูรณาการให้เข้ากับการเรียนไม่ควรเป็นกิจกรรมที่แยกออกจากบริบทการเรียนรู้หรือไม่ควรเรียนวิชาใดวิชาหนึ่ง โดยผู้เรียนนั้นควรที่จะได้รับการเรียนรู้แบบนี้อย่างสม่ำเสมอจะทำให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และมีความเชื่อมั่นในตนเอง
สรุป
ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสเป็นทฤษฎีที่เน้นความสำคัญของตัวผู้เรียน ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ โดยจะอธบายถึงการเรียนรู้ว่าเป็นกระบวนการภายในตัวบุคคล ซึ่งพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับบทเรียนหรือประสบการณ์ที่ศึกษาขึ้นด้วยตัวเองมากกว่าที่จะรับความเข้าใจที่สำเร็จรูปจากการสอนหรือการถ่ายทอดจากผู้สอน และบุคคลจะเกิดความรู้ใหม่ๆได้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน และจะเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นถ้ามีบรรยากาศของการทำงานและปฏิสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างผู้เรียน

อนุทินสัปดาห์ที่ 2 วันที่ 6 มิถุนายน 2553

ในการเรียนวิชาได้ทำแบบประเมินสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ของนิสิต ทำได้ให้วิเคราะห์ตัวเองว่ามีความรู้ความสามารถต่างๆ มากน้อยแค่ไหน และยังทำให้ได้รู้ถึงว่าการที่จะเป็นครูเบอร์ 1 หรือครูแนวหน้าได้นั้นต้องปฏิบัติเช่นไร โดยต้องมีความสามารถอย่างน้อย 5 อย่าง คือ
- สอนเก่ง
- วิจัยเก่ง
- เขียนเก่ง
- เป็นวิทยากร
- เป็นกรรมการองค์กรต่างๆ
จากนั้นอาจารย์ให้นิสิตเข้าทำบล็อกทำให้นิสิตมีช่องทางอีกช่องทางหนึ่งที่จะสามารถติดต่อกับอาจารย์และส่งงานได้ และยังทำให้นิสิตมีช่องทางในการติดต่อกับเพื่อนๆมากขึ้น ทั้งยังได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนๆในบล็อกอีกด้วย นอกจากนี้แล้วนิสิตยังสามารถทำช่องทางนี้ไปประยุกต์ใช้กับนักเรียนที่โรงเรียนได้อีกด้วยแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องพิจารณาสภาพนักเรียนและความพร้อมของนักเรียนด้วยว่า เหมาะสมหรือไม่
บรรยากาศในห้องเรียนอาทิตย์นี้เป็นบรรยากาศแบบสบายๆในการทำบล็อกนั้นอาจจะมีอุปสรรคอยู่บ้างแต่เพื่อนๆในห้องเรียนต่างก็มีน้ำใจ ช่วยเหลือซึ่งกันและจนผ่านพ้นไปได้ด้วยดี